ชี้เป้า Top 10 Marketplaces น่าขาย แห่งปี 2019 ในแดนมะกัน

ในฐานะผู้ขายเช่นคุณ การเลือกแหล่งจำหน่ายสินค้าถือเป็นเรื่องสำคัญมากเรื่องหนึ่ง เพราะไม่ใช่แค่เรื่องค่าใช้จ่ายการวางขายสินค้า หรือกฎระเบียบใน marketplaces ต่างๆที่ผู้ขายควรพิจารณา แต่ยังรวมไปถึง ตำแหน่งการวางขายสินค้าออนไลน์ของคุณ จะต้องถูกจัดวางให้ถูกประเภทของสินค้า และในแต่ละ marketplaces ก็ล้วนแล้วแต่มีผู้ซื้อที่แตกต่างกัน

เรามาดู Top 10 Marketplace จากแดนมะกันประจำปี 2019 กัน ว่าในแต่ละมาร์เก็ตเพลส มีรายละเอียดและข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง เริ่มต้นด้วย

อันดับแรก Amazon

เป็นมาร์เก็ตเพลสที่ใครๆก็รู้จัก และสามารถสร้างรายได้ ได้มากที่สุดในสหรัฐกว่า 178 ล้านดอลล่าร์ในปี 2017 การขายของบน Amazon ถือว่าเป็นตลาดที่มีความคึกคักสูงมาก และผู้ขายจะถูกแบน ถ้าขายของไม่ถูกลิขสิทธิ์

อีกปัจจัยสำคัญที่ผู้ขายต้องพึงระวังเลย คือ Amazon สามารถเรียกเก็บค่าใช้จ่ายการลงสินค้าขายบนพื้นที่ของ Amazon ได้ทุกเมื่อ และยังมีค่าใช้จ่ายการเก็บสต็อกสินค้าใน Fulfillment by Amazon นอกจากนี้ผู้ขายยังไม่สามารถควบคุมหน้าสินค้าของตน ให้เป็น layout ที่ผู้ขายอย่างคุณต้องการ

สุดท้ายสิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึงคือ เวลานักช็อป จะซื้อสินค้าบน Amazon พวกเขาจะมีความคิดไว้อยู่แล้วว่าจะเอาสินค้าชิ้นใด ยี่ห้ออะไร แล้วเขาก็จะเข้ามาเสิร์ชหาและซื้อยี่ห้อนั้น เพราะฉะนั้น ถ้าคุณเป็นเจ้าของแบรนด์ที่ยังไม่เป็นที่รู้จัก สินค้าคุณอาจขายไม่ได้ เพราะไม่ตรงกับพฤติกรรมของผู้ซื้อ

อันดับสอง ebay

มาร์เก็ตเพลสนี้ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 1995 โดยเริ่มจากการจำหน่ายยา จนกระทั่งเริ่มเป็นที่นิยมในปี 2000 จนมาถึงปัจจุบัน ยิ่งไปกว่านั้นตั้งแต่ Amazon ขึ้นค่าใช้จ่ายแบบ Prime ทำให้ ebay เริ่มเป็นที่จับตามองสำหรับมาร์เก็ตเพลสอื่น นอกเหนือจาก Amazon

อย่างไรก็ตาม ผู้ขายก็เริ่มประสบกับความลำบากในการขายบน ebay เนื่องจากกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆมีการเปลี่ยนแปลงบ่อย และการเก็บค่าใช้จ่ายจากผู้ขายที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อีกทั้งในปัจจุบันธุรกิจขนาดเล็กเริ่มปันใจไม่ใช้บริการ ebay และหันไปเลือกใช้มาร์เก็ตเพลสอื่นแทนมากขึ้น ฉะนั้นในอนาคต ebay ก็อาจจะไม่ใช่แหล่งขายที่มั่นคงและยั่งยืนอีกต่อไป

อันดับสาม Walmart

อีกหนึ่งมาร์เก็ตเพลสที่เป็นที่รู้จักในหมู่ผู้ขาย แม้ว่าจะไม่ใช่มาร์เก็ตเพลสที่ดังเท่า Amazon แต่ทาง Walmart ก็ได้มีการพัฒนา Platform ด้าน E-Commerce อย่างต่อเนื่อง เพื่อเอาใจกลุ่ม millennial นอกจากนี้ Walmart ยังเพิ่มสินค้าแบบท้องถิ่นและสินค้าแบบเฉพาะเจาะจงสำหรับผู้บริโภคแต่ละคนอีกด้วย พร้อมกับการสร้างประสบการณ์การช็อปปิ้งแบบพิเศษ ที่มอบให้เฉพาะลูกค้า Walmart Online เท่านั้น

Walmart ยังเป็นพันธมิตรทางธุรกิจที่พิเศษกับบริษัทโลจิสติกส์ชั้นนำอย่าง FedEx สำหรับลูกค้า Walmart สร้างออเดอร์และเลือกขนส่งผ่าน FedEx จะได้รับส่วนลดค่าขนส่งมากถึง 37% แต่สิ่งสำคัญสำหรับผู้ขายในการขายบน Walmart คือกระบวนการในการอนุมัติการขายของ Walmart จะใช้เวลานานเพราะ Walmart จะให้ความสำคัญกับแบรนด์ผู้ขายที่ต้องการขายบน Walmart และระยะเวลาในการรออนุมัติอาจนานถึง 6 สัปดาห์สำหรับผู้ขายที่ยังไม่เคยนำแบรนด์ของตนมาขายในหน้าร้านของ Walmart

อันดับสี่ Jet

เป็นมาร์เก็ตเพลสในเครือ Walmart เป็น Platform จำหน่ายสินค้าที่หลากหลายประเภท เนื่องจากากรมีเทคโนโลยี ตะกร้าสินค้าอัจฉริยะ ทำให้ Jet สามารถจำหน่ายสินค้าในราคาย่อมเยาว์ได้ และทำให้สามารถเพิ่มจำนวนสินค้าในตะกร้าสินค้า ได้มากกว่ามาร์เก็ตเพลสอื่นอย่าง Amazon อย่างไรก็ตาม Jet ก็ไม่ได้ครองตลาดลูกค้ามากเท่ามาร์เก็ตเพลสอื่นๆ และที่สำคัญตั้งแต่ Walmart เข้ามาควบรวมกิจการกับ Jet.com ทำให้ Jet ทำกำไรได้น้อยลง อีกทั้งการสนับสนุนและทรัพยากรต่างๆ ก็ถูกทุ่มลงไปใน Walmart อย่างเดียว

อันดับห้า Rakuten

เมื่อก่อนใช้ชื่อว่า Buy.com ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็น Rakuten ภายใต้การดูแลของบริษัทยักษ์ใหญ่จากญี่ปุ่น Rakuten มีสินค้าที่หลากหลายประเภทให้ผู้ซื้อได้เลือกสรร ตั้งแต่สินค้าด้านสุขภาพ ความงาม อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์กีฬา อะไหล่ยนต์ ข้าวของเครื่องใช้ในบ้านและออฟฟิศ ยังรวมไปถึงเสื้อผ้าอีกด้วย แม้ว่าในช่วงปีที่ผ่านมาอย่างปี 2017 Rakuten ทำกำไรในอเมริกาได้น้อยลง แต่ Rakuten ก็ได้มีการปรับระบบปฏิบัติการใหม่ เพิ่มเครื่องมืออำนวยความสะดวกกับผู้ขาย และปรับการให้บริการ

สำหรับค่าใช้จ่ายในการขายบน Rakuten ผู้ขายจะต้องชำระค่าใช้จ่ายรายเดือนเป็นเงิน 33 เหรียญดอลล่าร์สหรัฐ และ ทาง Rakuten ก็จะหักค่าคอมมิชชั่น เมื่อสินค้าผู้ขายสามารถขายได้ต่อชิ้น เป็นเงิน 0.99 เหรียญดอลล่าร์สหรัฐ จะเห็นได้ว่า Rakuten ไม่เหมือนมาร์เก็ตเพลสเจ้าอื่นๆ ที่ผู้ขายสามารถสามารถออกแบบรูปแบบร้านค้าที่จะขึ้นขายได้ อีกทั้งผู้ขายยังมี Account Manager หรือผู้ดูแลบัญชีผู้ขาย คอยให้คำปรึกษาอยู่ตลอด

อันดับหก Etsy

Etsy เริ่มเปิดตัวเมื่อปี 2005 เป็นตลาดสำหรับจำหน่ายสินค้าที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และเป็นสินค้าแบบ Homemade products สำหรับสินค้าที่มีเอกลักษณ์เฉพาะที่ไม่สามารถขายได้บน Walmart หรือ Amazon แต่เมื่อสินค้าลงขายใน Etsy ก็อาจขายได้ นอกจากนี้ Etsy ยังมีค่าใช้จ่ายในการขายที่ถูกกว่า มาร์เก็ตเพลสเจ้าอื่นๆ อีกทั้งผู้ขายยังสามารถออกแบบรูปแบบร้านค้าของตนบนเว็บไซต์ของมาร์เก็ตเพลสได้อีกด้วย

ราคาไม่ใช่เรื่องใหญ่สำหรับมาร์เก็ตเพลสนี้ เพราะกลุ่มผู้ซื้อส่วนใหญ่มองหาสินค้าที่มีคุณภาพ มีเอกลักษณ์ มีเรื่องราวความคิดสร้างสรรค์อยู่ในสินค้านั้นๆ อย่างไรก็ตาม Etsy ก็อนุญาตให้สินค้าที่ผลิตในโรงงานขายได้บนหน้าเว็บไซต์ เพราะฉะนั้นผู้ขายเช่นคุณก็อาจจะต้องแข่งขันกับรายใหญ่ คำแนะนำสุดท้ายถ้าสิ่งที่คุณต้องการคือยอดขายจำนวนมากๆ แนะนำว่า Etsy อาจจะไม่ใช่แหล่งที่คุณจะมาแสวงหารายได้เป็นกอบเป็นกำกลับไป

อันดับเจ็ด Newegg

Newegg เริ่มต้นเป็นแหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์ด้านอิเล็กทรอนิกส์ และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ต่อมามาร์เก็ตเพลส เริ่มขยายตลาดในการจำหน่ายสินค้าเป็นสินค้าในกลุ่มอะไหล่ยนต์ เสื้อผ้าและอุปกรณ์ที่ใช้ในบ้าน จนมาถึงปัจจุบันมาร์เก็ตเพลสนี้ กลายเป็นผู้นำด้านการจำหน่ายสินค้าด้านเทคโนโลยี แต่ในทางกลับกัน Newegg กำลังโดนโจมตีอย่างหนักจากกลุ่มลูกค้า ด้วยคำวิจารณ์และการเขียนรีวิวด้านลบที่ลูกค้าไม่ปลื้มกับการบริการของ Newegg ฉะนั้น ผู้ขายควรตระหนักเป็นอย่างดีก่อนตัดสินใจขายบนมาร์เก็ตเพลสนี้

อันดับแปด Overstock

อีกหนึ่งมาร์เก็ตเพลสที่น่าจับตามองสำหรับผู้ขาย คือ Overstock มีการคิดค่าคอมมิชชั่นจากการขายเพียงแค่ 3% เท่านั้น สำหรับสินค้าที่มีราคาไม่เกิน 25 เหรียญดอลล่าร์สหรัฐ อีกทั้งมาร์เก็ตนี้ นอกจากจะเป็นแหล่งซื้อขายปกติแล้ว ยังมี feature ที่น่าสนใจสำหรับลุกค้าอย่างเช่น การประมูลสินค้าอีกด้วย ด้านเสียของ Overstock คือมีกลุ่มลูกค้าที่เข้ามาหาสินค้าน้อยกว่า Amazon และทีม Customer Service ยังไม่แข็งแกร่งและต้องพัฒนาอีกมาก แต่ด้านดีคือ ลูกค้าสามารถชำระค่าบริการผ่านสกุลเงิน ดิจิทัล หรือ bitcoin ได้ด้วย นอกจากนี้ Overstock ยังชอบให้คูปองส่วนลดต่างๆกับลูกค้า

อันดับเก้า Wayfair

เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับลูกค้านอกจาก Amazon นั่นคือ Wayfair ถูกเปิดให้บริการเมื่อปี 2002 ถึงกระนั่นก็ยังเป็นมาร์เก็ตเพลสขนาดเล็ก ที่มีผู้ใช้บริการราวๆ 11 ล้านคน และรายได้เฉลี่ยในการใช้จ่ายผ่านออนไลน์หนึ่งครั้งจะอยู่ที่ 229 เหรียญดอลล่าร์สหรัฐ นอกจากนี้ Wayfair ยังมีสินค้าที่เป็นสินค้าสไตล์โฮมเมด ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวอีกกว่า 10 ล้านชิ้น ฉะนั้นถ้าสินค้าของคุณเป็นสินค้าที่เป็นแบบเฉพาะ และไม่สามารถขายบน Amazon ได้ Wayfair ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ

อันดับสิบ Houzz

คือตลาดขายสินค้าเฟอร์นิเจอร์ของตกแต่งบ้านและออฟฟิศ เป็นสถานที่จำหน่ายสินค้าแบบเฉพาะ และต้องบอกเลยว่า Houzz ก็ทำได้ดี นอกจากนี้Houzz ยังเป็นแหล่งทำการตลาดของหลายๆ แบรนด์เช่น การโปรโมตแบรนด์สินค้า เพราะว่าในมาร์เก็ตเพลสนี้มีกลุ่มลูกค้าที่ค่อนข้าง active และ มีค่าใช้จ่ายราคาถูกสำหรับผู้ขาย สำหรับกลุ่มผู้ขาย ที่จำหน่ายสินค้าตกแต่งภายในบ้าน อาจจะชื่นชอบกับมาร์เก็ตเพลสนี้



Bitnami